Gluta-O : Oxidized Glutathione of choice for Beverage products

Gluta-O : Oxidized Glutathione of choice for Beverage products
กลูต้าไทโอนในรูปแบบที่มีความบริสุทธิ์สูง ไร้สารตกค้าง กลิ่นบาง และคงตัวในน้ำ

จากผลการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลวิจัยธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2564 ว่า ธุรกิจการแพทย์และความงาม จัดเป็นธุรกิจดาวรุ่ง อันดับ 1 รวมทั้งธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสุขภาพตามมาเป็นอันดับ 6(1) ชี้ให้เห็นว่ากระแสความใส่ใจในเรื่องสุขภาพและความงามยังคงมาแรงในปีนี้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่ใส่ใจเรื่องความงาม มักมีความกังวลในเรื่องปัญหาผิวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฝ้า กระ รอยสิว รอยแผลเป็น ริ้วรอย รวมถึงความหมองคล้ำ (2) 

และอีกหนึ่งแนวโน้มที่กำลังเป็นที่จับตามองในปี 2021 นี้คือ กระแสของเครื่องดื่มฟังก์ชั่น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในบรรดากลุ่ม Non-alcoholic beverage กลุ่ม Functional drink เครื่องดื่มที่ให้คุณประโยชน์อื่นๆ จะเติบโตได้ดีกว่าอัตราเติบโตเฉลี่ยของตลาดแม้ในสถานการณ์โควิด เนื่องจากยังสามารถดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้อและมองหาเครื่องดื่มใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์เฉพาะได้ (12) ฉะนั้นเครื่องดื่มฟังก์ชั่นที่ให้ประโยชน์ด้านความงามถือว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย

เรื่องของความงาม หากจะพูดถึงปัญหาความหมองคล้ำนั้น สามารถบรรเทาได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือแม้แต่การบริโภคสารอาหารบางชนิดที่มีประโยชน์ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ กลูต้าไธโอน (glutathione)

กลูต้าไธโอนคืออะไร?

กลูต้าไธโอนเป็นไตรเปปไทด์ของกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ ซีสเตอีน กลูตาเมต และไกลซีน(7) ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กลูต้าไธโอน ในธรรมชาติ มีอยู่ 2 รูปแบบ

b1ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างของ reduced glutathione (GSH) และ oxidized glutathione (GSSG)

  1. Reduced glutathione หรือ glutathione sulfhydryl (GSH) โครงสร้างมีกลุ่มไธออล (-SH) ที่ทำให้มีคุณสมบัติต่างๆ เช่น การยับยั้งเมลานิน และการยับยั้งอนุมูลอิสระ เป็นรูป active แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่คงตัวในน้ำและอุณหภูมิที่สูงขึ้น (3,4) เกิดกลิ่นแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่า (5) กลูต้าไธโอนรูปแบบนี้จึงเหมาะสมกับการทำในรูปแบบที่ไม่ใช่ของเหลว เช่น แคปซูล เป็นต้น

  2. Oxidized glutathione หรือ glutathione disulfide (GSSG) โครงสร้างเกิดจาก reduced glutathione 2 ตัวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชัน เชื่อมกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์ (S-S) ซึ่งมีการทดลองพบว่า oxidized glutathione มีความคงตัวในน้ำและอุณหภูมิสูงมากกว่า (ภาพที่ 2) ด้วยเหตุผลนี้ทำให้กลูต้าไธโอนรูปแบบนี้เหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลว (6) ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ครีมและโลชั่นทาภายนอก หรืออย่างผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่งปกติร่างกายสามารถเปลี่ยนรูป GSSG ให้อยู่ในรูป GSH ที่มีสมบัติด้านต่างๆได้ ด้วยเอนไซม์ GSH reductase และ riboflavin ที่มีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว (6,7)
B4


ภาพที่ 2 แสดง การเปรียบเทียบปริมาณกลูต้าไธโอนชนิดรีดิวซ์และออกซิไดซ์ในน้ำ ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน (ภาพซ้าย) และที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที (ภาพขวา)
(4)

b5-1

ทาง 3C group มี key ingredient ที่สามารถตอบโจทย์ท่านผู้ประกอบการและลูกค้าของท่านได้เป็นอย่างดี นั่นคือ Gluta-O™ ที่ได้จากกระบวนการออกซิเดชันของ L-glutathione reduced จนได้ 100% L-Glutathione oxidized ที่มีความบริสุทธิ์สูง ไร้สารตกค้าง กลิ่นบาง คงตัวในน้ำ เหมาะกับการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่ง Gluta-O™ ผลิตโดยควบคุมด้วยมาตรฐานทั้ง GMP, HACCP, HALAL และ KOSHER อีกด้วย

ประสิทธิภาพของกลูต้าไธโอนและกลไกการเกิดสีผิว

ความหมองคล้ำหรือฝ้าและจุดด่างดำเกิดจากเม็ดสีผิวหรือเมลานินที่ถูกสร้างขึ้น เมลานินถูกผลิตขึ้นจากกรดอะมิโนไทโรซีน โดยมีเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ที่เร่งกระบวนการสร้างเมลานิน ซึ่งเมลานินโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ ยูเมลานิน (eumelanin) ที่มีสีน้ำตาลถึงดำ พบมากในคนผิวคล้ำ และ ฟีโอเมลานิน (pheomelanin) ที่มีสิเหลืองหรือแดง พบมากในคนผิวขาว(8) (ภาพที่ 3) นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกอย่างแสงยูวี ก็เร่งกระบวนการสร้างเมลานินเช่นเดียวกัน(11) ซึ่งกลูต้าไธโอนนั้นสามารถช่วยให้ผิวกระจ่างใสและยับยั้งการเกิดฝ้า จุดด่างดำได้โดย 3 กลไก (6)

  1. ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ทำหน้าที่สร้างเมลานิน
  2. กระตุ้นกระบวนการสร้างฟีโอเมลานิน
  3. ยับยั้งอนุมูลอิสระ ROS จากรังสียูวีที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างเมลานิน(11)

b6ภาพที่ 3 แสดง กลูต้าไธโอนกับกลไกการเกิดสีผิว (9)

นอกจากนี้ ด้วยความที่กลูต้าไธโอนสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ จึงมีสมบัติ anti-aging ที่ช่วยชะลออายุเซลล์ทุกเซลล์(10) รวมถึงผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้อีกด้วย

หากผู้ประกอบการท่านใด สนใจในการทำผลิตภัณฑ์ functional drink ที่ให้ประโยชน์ด้านความงาม Gluta-O™ ถือเป็นอีกหนึ่ง key ingredient ที่น่าสนใจ เนื่องจากอยู่ในรูป oxidized ที่มีความคงตัวในน้ำ ต่างจาก reduced glutathione ทั่วไปและตอบโจทย์ด้านความงาม ทั้งเรื่องเพิ่มผิวกระจ่างใส ลดเลือนริ้วรอย ฝ้า จุดด่างดำ ที่เป็นปัญหาผิวกวนใจสาวๆอยู่ไม่น้อย

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสอบถามเรื่องการผลิตอาหารเสริม / วัตถุดิบอาหารเสริม / วิจัยอาหารเสริม คลิกติดต่อทีมขาย

New Customer

3C's Customer

 


 

เอกสารอ้างอิง

  1. https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2000045
  2. https://www.posttoday.com/life/healthy/596882
  3. HARMITA, H., ISKANDARSYAH, I., & AFIFAH, S. F. (2020). Effect of transfersome formulation on the stability and antioxidant activity of N-acetylcysteine in anti-aging cream. International Journal of Applied Pharmaceutics, 156-162.
  4. http://www.jade.guide4org/giffarineglutathione.php
  5. Lee, Y., Kumar, S., Kim, S. H., Seong, K. Y., Lee, H., Kim, C., ... & Yang, S. Y. (2020). Odorless Glutathione Microneedle Patches for Skin Whitening. Pharmaceutics, 12(2), 100.
  6. Watanabe, F., Hashizume, E., Chan, G. P., & Kamimura, A. (2014). Skin-whitening and skin-condition-improving effects of topical oxidized glutathione: a double-blind and placebo-controlled clinical trial in healthy women. Clinical, cosmetic and investigational dermatology, 7,
  7. https://thaicam.go.th/glutathione/
  8. อริน วิกุล, กลุ่มงานด้านบริการงานวิจัย และกลุ่มสนับสนุนงานวิจัย, 2558, “กลูตาไธโอน”, วารสาร เพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน 2558
  9. https://women.mthai.com/beauty/cosmetic/115962.html
  10. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/137/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99-Glutathione-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%881-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84-%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2/
  11. Dilokthornsakul, W., Dhippayom, T., & Dilokthornsakul, P. (2019). The clinical effect of glutathione on skin color and other related skin conditions: A systematic review. Journal of cosmetic dermatology, 18(3), 728-737.
  12. https://www.smethailandclub.com/marketing-6744-id.html

ส่งความคิดเห็น

ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่ ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *