รู้ทันโรคอ้วน เพื่อสุขภาพที่ดี

ปัจจุบันโรคอ้วนกำลังคุกคามผู้คนจำนวนมากจนสหพันธ์โรคอ้วนออกมาเตือนว่าอีก 12 ปีข้างหน้า ประชากรโลกเกินครึ่งจะมีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยข้อมูลจาก THE STANDARD เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2022 ว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคอ้วนมากถึง 800 ล้านคน

ปัจจัยการเกิดโรคอ้วนมีหลายอย่าง โดนต้นเหตุหนึ่งในนั้น คือ สมองของเราจะมีฮอร์โมน 2 ตัว ตัวหนึ่งจะทำให้เราหิว อีกตัวจะทำให้เราอิ่ม ซึ่งในสมองคนเราจะมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า Neuropeptide Y หรือ NPY ตัวนี้จะเป็นตัวการทำให้เราหิว เวลาที่เราอดอาหาร มีความเครียด คิดมากสมองก็จะหลั่งฮอร์โมน NPY นี้ออกมาทำให้เราหิว ประเภทอาหารที่เราอยากกินก็จะเป็นของหวาน อาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ของทอด เมื่อเรารับประทานอาหารประเภทนี้ไปเรื่อยๆ แน่นอนว่าร่างกายของเราจะเกิดไขมันสะสม “ไขมันในช่องท้อง ” (Visceral Fat) ไขมันตัวร้ายที่เกาะอยู่กับลำไส้ ตับ ตับอ่อน เป็นตัวการทำให้เกิดโรคต่างๆเพราะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด

น้ำหนักเกิน

ประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน

ภาวะโรคอ้วนได้จากการคำนวนน้ำหนักตัวและส่วนสูง เรียกว่า ดัชนีมวลกาย

1.เกณฑ์ BMI ของชาวเอเชีย ถ้าค่าBMI น้อยกว่า 18.5 แสดงว่าน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ , ค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าค่า BMI อยู่ที่ 23-24.9 แสดงว่ามีน้ำหนักเกินและมีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

2.การสังเกตว่าเป็นโรคด้วยหรือไม่ อีกหนึ่งวิธี คือ การสังเกตรูปร่างตัวเองว่า มีลักษณะอ้วนลงพุง มีไขมันสะสมหน้าท้องและมีรอบเอวขนาดใหญ่หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้มีความเสี่ยงการมีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ

   2.1 ผู้ชายที่มีเส้นรอบเอว 90 ซม. ถือว่าอยู่ในภาวะอ้วนลงพุง

   2.2 ผู้หญิงที่มีเส้นรอบเอว เกิน 80 ซม. ถือว่าอยู่ในภาวะอ้วนลงพุง

 โดยคนไทยที่เป็นโรคอ้วนลงพุงถึง 20.8 ล้านคน เป็นผู้ชาย 6.8 ล้านคนและผู้หญิง 14 ล้าน ซึ่งคนทั่วไปจะเข้าใจว่าการเป็นโรคอ้วนเกิดจากการมีพฤติกรรมการกินเพียงอย่างเดียว หรือไม่ออกกำลัง แต่แท้จริงแล้วโรคอ้วนเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การนอนหลับ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น และที่สำคัญการควบคุมความหิวอย่างดีที่สุดและถูกมองข้าม คือ การนอนหลับที่มีคุณภาพจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไปได้ถึง 10-20% และยิ่งนอนน้อยก็จะยิ่งหิวมากกว่าเดิม เพราะสมองจะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหิวมากถึง กว่าปกติถึง 22 %

 การรับมือกับโรคอ้วน

  1. การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร อาหารที่ทำให้มีไขมันในช่องท้องมากที่สุดไม่ใช่กลุ่มอาหารโปรตีนหรือว่าไขมัน แต่เป็นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล เพราะ ไขมันในช่องท้อง เกิดจาก ตับเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคส ฟรุกโทส ที่มีอยู่ในอาหารมาเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ สะสมในช่องท้อง
  2. การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะ เป็นอาหารอีกกลุ่มที่กระตุ้นให้ตับสร้างไขมันไตรกลีเซอร์ไลด์
  3. การทำ Intermittent Fasting หรือการจำกัดระยะเวลารับประทานอาหาร เริ่มจากสูตร 16/8 เป็นสูตรที่ง่ายที่สุด คือการรับประทานอาหารแค่ 8 ชั่วโมงอีก 16 ชั่วโมงคือการดื่มน้ำ กาแฟดำ ชา เป็นต้น การรับประทานอาหารแบบนี้ ตับจะตึงไขมันที่สะสมอออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน

ในฐานะที่ 3C เรามีผู้เชี่ยวชาญในการคิดค้นวิจัยและพัฒนาสูตร

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   3c   ขอแนะนำ 

LeptiCore

่วนผสมที่ปลอดภัยจากธรรมชาติของ plant-based polysaccharides, esterified fatty acids, pomegranate extract, beta-carotene และ blue-green algae

จุดเด่นของสินค้า (UNIQUE SELLING POINTS)  

1.Multifunctional Ingredient ประกอบด้วยส่วนผสมที่ปลอดภัยจากธรรมชาติของ plant-based polysaccharides, esterified fatty acids, pomegranate extract, beta-carotene และ blue-green algae ได้รับสิทธิบัตรคุ้มครองจากอเมริกา

2.สูตรที่มีสามารถลดน้ำหนักโดยการแก้ไขภาวะดื้อต่อเลปติน 

บริษัท 3C Group เรายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นผู้นำทางด้านอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ซึ่งหากคุณมีความสนใจในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารเสริม เรามีความยินดีที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัตถุดิบและขั้นตอนการผลิตในทุกๆ ขั้นตอนของการจัดทำอาหารเสริม  

สำหรับผู้ที่สนใจท่านสามารถติดต่อเราได้เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ การคิดค้นสูตรอาหารเสริม ตลอดจนไปถึงการช่วงวางแผนการจำหน่าย เพราะเราเป็นบริษัทรับผลิตและนำเข้าวัตถุดิบที่มีความเชี่ยวชาญ ติดต่อเราได้ที่ Line OA คลิ๊ก @3cnutra หรือทีมขายที่ดูแลท่าน หรือโทร. ฝ่ายบริการลูกค้า 02-033-0555 #601-604  

 

┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉┉

Top 10 Trends พร้อมวัตถุดิบที่ตอบโจทย์ มากกว่า 40 รายการ

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสอบถามเรื่อง การพัฒนาสูตรอาหารเสริม / วัตถุดิบอาหารเสริม คลิกติดต่อทีมขาย

New Customer

3C's Customer

 


 

ส่งความคิดเห็น

ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่ ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *