Vitamin C แต่ละชนิดและการนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

Vitamin C แต่ละชนิดและการนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วิตามิน C (Ascorbic acid) หรือที่รู้จักในชื่ออื่น ๆ ได้แก่ L-ascorbic และ L-ascorbate เป็นวิตามินที่มีความจำเป็นกับร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้ มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี หากขาดวิตามินซีจะเกิดโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งรักษาได้ด้วยการให้วิตามินซี นอกจากนี้วิตามินซียังมีความสามารถในการเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถรับประทานได้สูงสุดมากกว่า 1,000 mg สามารถขับออกทางไตโดยไม่มีการสะสมและไม่เป็นอันตราย (1-4) ซึ่งวิตามินซีนั้นเป็นวิตามินที่มีรูปแบบที่หลากหลายได้แก่

1-2

รูปโมเลกุลของ Ascorbic acid

Ascorbic acid
เป็นอนุพันธ์ Active form หรือรูปแบบที่เราได้พบทั่วไปซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิตามินซีชนิดใดก็จะแตกตัวได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ทำงานได้เป็น ascorbic acid มีค่า pH เป็นกรด มีความคงทนที่ต่ำ สามารถถูกทำลายได้ด้วยแสง ความร้อน ความชื้นและการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน สามารถละลายน้ำได้ดี มีสีที่ใสเคลียร์ หากนำมาใช้ในการรับประทานอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะ ซึ่ง Ascorbic acid สามารถผลิตเป็นผงที่มีความละเอียดที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม ยาฉีด (Injection) ทำเป็นเม็ดแบบ Tablet กับ Capsule และแป้งที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร (5)

2-2
รูปโมเลกุลของ Sodium ascorbate และ Calcium ascorbate

Mineral ascorbate
เป็นวิตามินซีชนิดที่มีความเป็นกรดน้อยกว่าวิตามินซีรูปแบบ ascorbic acid เนื่องจากมีเกลือที่ทำหน้าที่เป็น buffered ให้กับกรด มีส่วนช่วยในการลดการระคายเคืองกระเพาะอาหารและเพิ่มการดูดซึมกับความคงตัวของ ascorbic acid เช่นกัน ซึ่ง mineral ascorbate มีหลายตัวโดยที่นิยมใช้ในประเทศไทยได้แก่ Sodium ascorbate และ Calcium ascorbate โดยจะมีความแตกต่างกันที่จุดเด่นอย่างเช่น calcium ascorbate จะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมได้ดีขึ้น ดังนั้น ascorbic acid ที่ทำการเติมเกลือเหล่านี้จะพบว่านิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม อาหารและเครื่องดื่ม (6-8)

3-4

รูปโมเลกุลของ Flavonoid

 

Ascorbic acid with Bioflavonoids
รูปแบบวิตามินซีที่มีการเติมสาร flavonoids หรืออาจเป็นวิตามินซีจากผลไม้ที่มีวิตามินซีที่สูงและมีองค์ประกอบของ flavonoids โดยมีการรายงานว่าสามารถที่จะช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมของวิตามินซี นิยมนำมาทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (9-10)


4-1
รูปโมเลกุลของ Ascorbyl palmitate

Ascorbyl palmitate
เป็นวิตามินซีที่อยู่ในรูปที่สามารถละลายในไข (fat-soluble) มันได้ ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำเป็นรูปแบบนี้เนื่องจากให้ความคงทนและปกป้องวิตามินซีให้คงฤทธิ์ของแอนตี้ออกซิแดนท์ โดยนิยมนำมาใช้ตั้งแต่เป็นสารเติมในอาหารเพื่อยืดอายุของน้ำมันพืชไปจนถึงนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ด้วยเช่นกัน (11-12)

5-May-18-2021-08-30-47-14-AMผลของการพบวิตามินซีในเม็ดเลือดขาวหรือการที่วิตามินเข้าสู่เซลล์ตามระยะเวลาที่ได้รับวิตามินซี (Nutrimin C)

Nutrimin C
เป็นผลิตภัณฑ์วิตามินซีนำเข้าของ 3C group ที่มี 3 องค์ประกอบคือ วิตามินซี bioflavonoid และ fatty acid ซึ่งเป็นการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีในการบรรจุวิตามินซีให้อยู่ในรูป Microencapsulation ด้วย Lipid metabolite มีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว และคงอยู่ในร่างกายได้สูงกว่าวิตามินซีทั่วไปถึง 233% และมีประโยชน์ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้มากกว่าวิตามินซีรูปแบบอื่นถึง 2.5 เท่า สามารถนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม

6รูปลักษณะของ Ascorbic acid powder และ granular

นอกจากวิตามินซีแต่ละรูปแบบที่ได้แสดงไปยังมีปัจจัยอื่นที่มาส่วนช่วยให้เลือกในการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแต่ละรูปแบบด้วยเช่นกันได้แก่ลักษณะของวิตามินซีแบบผงละเอียด (mesh) และผงเม็ด (granule) โดยหากมีลักษณะที่เป็นผงละเอียดมากจะนิยมนำมาทำอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงยาฉีดมากกว่า (13) แต่หากเป็นแบบผงเม็ดจะนิยมนำมาใช้บรรจุลงแคปซูลและตอกเม็ดยาขนาด 1,000 มก. (14)

C-fresh
วิตามินซี C-fresh™ เป็นผลิตภัณฑ์วิตามินซีนำเข้าของ 3C group ซึ่งเป็นรูปแบบ powder และนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

C-Tab
วิตามินซี C-Tab™ เป็นผลิตภัณฑ์วิตามินซีนำเข้าของ 3C group ซึ่งเป็นรูปแบบ Granule และนิยมนำมาใช้บรรจุลงแคปซูลและตอกเม็ดยาขนาด 1,000 มก.

ตารางสรุปวิตามินซีและความเหมาะสมในการทำผลิตภัณฑ์

7

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวิตามินซีมีหลายรูปแบบโครงสร้าง ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อีกหลายแบบด้วยเช่นกันขึ้นกับว่าจะต้องการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แบบใดจึงค่อยเลือกวิตามินซีที่มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้นต่อไป

สอบถาม Vit-C


 

เอกสารอ้างอิง

  1. Padayatty SJ, Katz A, Wang Y, Eck P, Kwon O, Lee JH, Chen S, Corpe C, Dutta A, Dutta SK, Levine M. Vitamin C as an antioxidant: evaluation of its role in disease prevention. J Am Coll Nutr. 2003 Feb;22(1):18-35. doi: 10.1080/07315724.2003.10719272. PMID: 12569111.
  2. PDQ Integrative, Alternative, and Complementary Therapies Editorial Board. High-Dose Vitamin C (PDQ®): Health Professional Version. 2020 Oct 13. In: PDQ Cancer Information Summaries [Internet]. Bethesda (MD): National Cancer Institute (US); 2002-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK121338/
  3. Juraschek, S. P., Guallar, E., Appel, L. J., & Miller, E. R., 3rd (2012). Effects of vitamin C supplementation on blood pressure: a meta-analysis of randomized controlled trials. The American journal of clinical nutrition, 95(5), 1079–1088. https://doi.org/10.3945/ajcn.111.027995
  4. Office of Dietary Supplements - Vitamin C. (2019, December 10). National Institutes of Health. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminC-Consumer/
  5. National Center for Biotechnology Information (2021). PubChem Compound Summary for CID 54670067, Ascorbic acid. Retrieved February 18, 2021 from https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Ascorbic-acid
  6. (National Center for Biotechnology Information (2021). PubChem Compound Summary for CID 23667548, Sodium ascorbate. Retrieved February 15, 2021 from https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Sodium-ascorbate.)
  7. National Center for Biotechnology Information (2021). PubChem Compound Summary for CID 54682536, Calcium ascorbate. Retrieved February 19, 2021 from https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Calcium-ascorbate.
  8. บุญมาลี, ปฏิมา. (2014, August 20). วิตามินซีกับการป้องกันหวัด. คลังข้อมูลยา. https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=17%EF%BB%BF
  9. Supplemental Forms. (2021, January 1). Linus Pauling Institute. https://lpi.oregonstate.edu/mic/vitamins/vitamin-C/supplemental-forms
  10. Carr AC, Vissers MC. Synthetic or food-derived vitamin C--are they equally bioavailable? Nutrients. 2013 Oct 28;5(11):4284-304. doi: 10.3390/nu5114284. PMID: 24169506; PMCID: PMC3847730.
  11. Cort, W.M. Antioxidant activity of tocopherols, ascorbyl palmitate, and ascorbic acid and their mode of action. J Am Oil Chem Soc 51, 321 (1974). https://doi.org/10.1007/BF02633006
  12. Wypych, A., & Wypych, G. (2020). Antioxidants. Databook of Antioxidants, 15–500. https://doi.org/10.1016/b978-1-927885-53-6.50006-3
  13. Johnston CS, Luo B. Comparison of the absorption and excretion of three commercially available sources of vitamin C. J Am Diet Assoc. 1994 Jul;94(7):779-81. doi: 10.1016/0002-8223(94)91950-x. PMID: 8021423.
  14. ASCORBIC ACID Injection, USP. (2016, December). National Library of Medicine. https://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/fda/fdaDrugXsl.cfm?setid=d05200cb-cf29-4bc7-bf0c-b42ab2d20958&type=display
  15. Jallo LJ, Ghoroi C, Gurumurthy L, Patel U, Davé RN. Improvement of flow and bulk density of pharmaceutical powders using surface modification. Int J Pharm. 2012 Feb 28;423(2):213-25. doi: 10.1016/j.ijpharm.2011.12.012. Epub 2011 Dec 17. PMID: 22197769.

ส่งความคิดเห็น

ที่อยู่อีเมลของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่ ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *